ทำความรู้จัก “ศาสตร์จักระบำบัด” ช่วยลดภาวะ Burnout

ก่อนไปทำความรู้จัก “ศาสตร์จักระบำบัด” เรามารู้จักคำว่า จักระ กันก่อน ว่าจักระ หรือ จักระทั้ง 7 คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับร่างกาย

ศาสตร์จักระบำบัด

จักระ คืออะไร

จักระ (CHAKRA) แปลว่าอะไร จักระ เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง กงล้อ จักระ คือ ศูนย์รวมพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์ หรือ พลังแฝงที่มีอยู่ในทุก ๆ สิ่ง เป็นศูนย์พลังงานอันละเอียดอ่อน ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จักระ ชี่ ลมปราณ เป็นต้น

ความสำคัญของ จักระ กับ สุขภาพ 

ตำแหน่งที่ตั้งของจักระทั้ง 7 นั้น ได้วางเรียงอยู่สอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้งของสมองและในไขสันหลังในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่าตำแหน่งที่ตั้งของจักระทั้ง 7 นั้นสอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้งของต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ในร่างกายอีกด้วย

จักระไม่สมดุล 

หากจักระอยู่ในภาวะไม่สมดุล การไหลเวียนจักระมีพลังงานต่ำเกินไป หรือ สูงเกินไป ไม่อยู่ในภาวะสมดุล อาจส่งผลกับร่างกายทั้งกายภาพ ที่แสดงออกมาทางร่างกาย และ สมดุลในจิตใจ ที่แสดงออกมาทางอารมณ์  

 

ศาสตร์จักระบำบัด

จักระทั้ง 7 จักระ มีอะไรบ้าง

1. มูลธาร (Mrauladha) ที่ตั้ง บริเวณก้นกบ 

เป็นรากฐานของระบบจักระ หรือระบบพลังงาน เป็นพื้นฐาน ของพลังชีวิต และเป็นกลไกที่ทำให้สืบทอดมนุษย์

2. สวาธิษฐาน (Svadhisthana) ที่ตั้ง บริเวณท้องน้อย 

เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับพลังทางเพศ รวมทั้งความเชื่อมั่นในตนเอง ควบคุมระบบการสืบพันธุ์ การขับกากอาหาร และของเสียออกจากร่างกาย (ระบบการขับถ่าย) รวมทั้งการตั้งครรภ์ และการคลอด

3. มณปีุระ (Manipura) ที่ตั้ง บริเวณท้อง

อยู่ตรงแนวสะดือตัดกับกระดูกสันหลัง เป็นศูนย์กลางของการหยั่งรู้ ณ จุดนี้เป็นศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมระบบการย่อยอาหาร และ การขับถ่ายของเสีย

4. อนาหตะ (Anahata) ที่ตั้ง บริเวณหัวใจ

อยู่ตรงแนวหัวใจตัดกบักระดูกสันหลงั บริเวณกระดูกสันหน้าอกปล้องที่ 1,2 และ 3) ควบคุมระบบหมุนเวยีนโลหิต หัวใจและระดับไขมันในเส้นเลือด

5. วสิุทธิ (Visudsha) ที่ตั้ง บริเวณคอหอย

อยู่ตรงบริเวณเส้นแนวไหล่ตัดกับกระดูกสันหลังกระดูกคอปล้องที่ 3 ควบคุมระบบทางเดินหายใจ และผิวหนัง

6. อาชนะ (Ajna) ที่ตั้ง ใจกลางศีรษะบริเวณหน้าผาก

อยู่ตรงกลางหน้าผากกระดูกคอปล้องที่ 1 ควบคุมสติปัญญา ความนึกคิด ความเฉลียวฉลาด และระบบประสาท

7. สหัสราร (Sahasrara) ที่ตั้ง บริเวณยอดกระหม่อมศีรษะ

อยู่ตรงกลางกระหม่อม หรือจุดตัดของเส้นที่ลากจากปลายจมูก ผ่านกลางหน้าผาก ตัดกับเส้นที่ลากจากหูซ้ายไปหูขวา ควบคุม ระบบประสาททั้งหมดของร่างกาย เป็นศูนย์ควบคุมทุกจักระ เป็นจุดรับพลังจักรวาล เป็นจุดที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วย ที่จักระอื่นไม่สามารถรักษาได้โดยตรง

ศาสตร์จักระบำบัด

รู้จัก “ศาสตร์จักระบำบัด” (Chakra Treatment)

จักระบำบัด คือ การปรับสมดุลให้กับจักระของแต่ละคน เพื่อให้การทำงานของร่างกาย และจิตใจก็จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น 

ศาสตร์จักระบำบัด เหมาะสำหรับใคร 

ทรีตเมนต์ปรับสมดุลจักระทั้ง 7 เหมาะสำหรับ 

  • ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า 
  • เครียดสะสม 
  • หมดไฟในการทำงาน Burn Out
  • มีความวิตกกังวล 
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • ไม่สดชื่น 

ศาสตร์จักระบำบัด ดีอย่างไร 

การทำจักระบำบัด คือ การปรับสมดุลของจักระทั้ง 7 เพื่อนำไปสู่ความผ่อนคลายของจิตใจ และห้วงอารมณ์ ช่วยขับสารพิษ ปรับสมดุลของร่างกาย ลดระดับความเครียดและความวิตกกังวล 

 

Ref: (1) (2) (3)