โรคซึมเศร้า เกิดจากอะไร
โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) คือ โรคที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ โดยมีอาการแสดง คือ เศร้า เบื่อไม่อยากทำอะไร นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป เบื่ออาหารหรือกินอาหารมากเกินไป รู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินไป รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง สมาธิไม่ดี ทำอะไรเชื่องช้าลงหรือมีท่าทีกระสับกระส่าย ไม่อยากมีชีวิตอยู่
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโตนิน (Serotonin) นอร์เอปิเนฟริน (Norepinephrine) โดปามีน (Dopamine) ส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมไปถึงสุขภาพกาย
โรคที่เกี่ยวกับอารมณ์ซึมเศร้าแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
โรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป อารมณ์ที่หลายหลายของโรคซึมเศร้า ได้แก่
1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression)
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีความผิดปกติที่มีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมาก จนไม่มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยทำให้กลับมามีความสุขสดชื่นเหมือนเดิม ดังนั้นควรเริ่มรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยไม่ให้โรคซึมเศร้าแบบนี้มีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอีกด้วย
2. โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression)
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้ จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก แต่เป็นอย่างต่อเนื่องนานกว่า นั่นคือ จะมีอาการอย่างน้อย 2 ปี แต่มักจะนานกว่า 5 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เนื่องจากผู้ที่ป่วยจะมีอารมณ์ผิดปกติสลับไปด้วย
3. โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ ดิสออร์เดอร์ (Bipolar disorder)
ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ชนิดนี้บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด cryptocurrency exchange โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างกัน หรือ ต่างขั้วกัน โดยซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหา เช่น การใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย หรือตัดสินใจผิดๆ และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้
สาเหตุของโรคซึมเศร้า เกิดจากอะไรได้บ้าง
- สารเคมีในสมอง ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เป็นปัจจัยหนึ่งของสาเหตุโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม นักวิจัยไม่สามารถระบุสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงได้
- ความเสี่ยงทางพันธุกรรม แม้ว่านักวิจัยจะไม่ได้ระบุยีนที่เฉพาะเจาะจง แต่พวกเขาก็รู้ว่าการมีสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ พี่สาว หรือพี่ชาย เพิ่มโอกาสที่คุณจะเป็นโรคซึมเศร้าได้
- การเจ็บป่วย ด้วยโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด
- การใช้สารเสพติด หรือยาบางประเภท ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
- การสูญเสียครั้งใหญ่ เช่น สูญเสียคนรัก คนใกล้ตัว มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจ
โรคซึมเศร้านั้นไม่ได้มีสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งแน่นอน การเริ่มเกิดอาการของโรคซึมเศร้านั้นมักมีปัจจัยกระตุ้น มากบ้างน้อยบ้าง
อะไรบ้าง? กระตุ้นอาการของโรคซึมเศร้า
- สภาพอากาศ ในวันที่ฝนตก อากาศขมุกขมัว อากาศเย็น ก็ส่งผลต่อจิตใจของเราด้วย ยิ่งถ้าหากมีภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า หรือ มีความเครียดอยู่แล้ว อากาศเปลี่ยนนิดเดียวก็กระตุ้นให้เหงา เศร้า หดหู่ได้ แต่หากอารมณ์เปลี่ยนไปในทางแย่ลงจนส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นั่นอาจเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่ามีภาวะเครียดจากสภาพอากาศ
- ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
- บุคลิกภาพบางอย่าง เช่น ตามใจคนอื่น (People-Pleasing) มากเกินไป นักจิตวิทยาเตือนว่า ความที่ต้องการเอาใจทุกคน (People-Pleasing) จนกลายเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ จริง ๆ แล้วเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตของคน ๆ นั้น ตามทฤษฎีของมาสโลว์แล้ว เราต่างปรารถนาจะเป็นที่รัก ที่ชื่นชม และที่ยอมรับของคนอื่นๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการ ‘อะไรก็ได้’ ความปรารถนานั้นจะถูกขับดันด้วยระบบประสาท (Neurotic Need & Desire) จนบั่นทอนสุขภาพ ความคิด บุคลิกภาพ และส่งผลเสียเรื้อรังจนกลายเป็นความเครียด ความทุกข์ และโรคซึมเศร้าได้
อาการของ โรคซึมเศร้า
- มีอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้
- มีปัญหาการกิน เบื่ออาหาร กินน้อย หรือ กินมากขึ้นผิดปกติ
- งานอดิเรกที่เคยชอบก็ไม่ชอบ ไม่อยากทำอะไร
- นอนไม่หลับกระสับกระส่าย หรือ หลับ ๆ ตื่น ๆ
- เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ไม่มีพลังจะทำอะไร
- มีภาวะที่ไร้ค่ารู้สึกตัวเองเหมือนไม่มีคุณค่า
- มีความคิดทำร้ายตัวเอง อยากฆ่าตัวตาย
โดยอาการจะเป็นนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หรืออาการเหล่านี้ทำให้รู้สึกทุกข์ทรมานอย่างมากในจิตใจ
อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เครียดก็ตาม ถ้าสังเกตตัวเอง หรือ คนรอบตัวว่ามีอาการดังกล่า ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
การรักษา โรคซึมเศร้า
รักษาด้วยการใช้ยา โดยในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าถือเป็นยาที่ปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง ไม่ทำให้เกิดการติดยา และไม่ทำให้เกิดอาการมึนงงอย่างที่เข้าใจผิดกัน นอกจากนี้ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
รักษาด้วยจิตบำบัดและการพูดคุยให้คำปรึกษา โดยแพทย์จะช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ และแนวทางในการปรับตัว หรือแม้แต่การหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง
รักษาด้วยไฟฟ้า ในรายที่มีอาการรุนแรง วิธีช๊อตไฟฟ้า หรือ ECT ซึ่งเป็นการไฟช๊อตเข้าไปที่สมอง ซึ่งเปรียบเทียบได้กับลักษณะของการ ปิด-เปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการ “รีสตาร์ท”
ป้องกันโรคซึมเศร้า ดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง
หากโรคซึมเศร้าที่เกิดจากสมดุลในสมองผิดปกติ ควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา แต่หากมีอาการซึมเศร้าที่ไม่รุนแรง เช่น ความเครียดสะสม อาจจะป้องกัน หรือ ดูแลตัวเองในเบื้องต้นไปพร้อมกับการปรึกษาแพทย์ได้เช่นกันค่ะ
– รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหากขาดสารอาหารบางอย่างไป เช่น โอเมก้า 3 วิตามินอี วิตามินซี วิตามินดี ทองแดง และธาตุเหล็ก อาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
– หมั่นออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30 – 40 นาที และพักผ่อนให้เพียงพอ
– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การใช้สารเสพติด
– หาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่ชอบ ทำให้ตนเองรู้สึกมั่นใจ และมีคุณค่า และได้ใช้เวลาร่วมกับคนอื่น ๆ มากกว่าที่จะอยู่คนเดียว
– หาที่ปรึกษา หาคนพูดคุยด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีความคิดด้านลบ หรือเกิดความเครียด เช่น ไม่อยากมีชีวิตอยู่ การได้พูดคุยกับคนอื่น ๆ จะช่วยดึงความคิดเราออกจากความคิดที่จดจ่ออยู่ตอนนั้น การได้พูดคุย ปรึกษา เพื่อน ครอบครัว โค้ช จิตแพทย์ ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น
Reference: (1) (2) (3) (4) (5) (6)