“แกมันโง่ แกมันจน ไม่มีหัวนอนปลายเท้า” “คนอย่างแกจะมาสู้อะไรฉันได้” !!

บทพูดแบบละครคุณธรรมใน TikTok ที่เราไม่คิดว่าจะได้เจอในชีวิตทั่วไป เชื่อไหมคะว่าเราอาจจะได้เจอในชีวิตจริงเข้าสักวัน เพราะคนประเภทที่ด้อยค่า ดูถูก เหยียดหยาม หลงตัวเองแบบนี้ มีปะปนอยู่รอบตัวเรามากมาย แบบที่เราอาจจะได้เจอจัง ๆ เข้าสักวัน

คนที่มีนิสัยดูถูกคนอื่น โรคหลงตัวเอง ที่เราพบเจอได้ในออฟฟิศ ที่ทำงาน ในรอบ ๆ ตัว ที่เรามองว่าเป็นคน Toxic คนที่เราไม่อยากเจอ ไม่อยากร่วมงานด้วย อาจไม่ใช่แค่คนนิสัยเสียธรรมดา เพราะคนเหล่านี้อาจเข้าค่ายมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ หรือ ในทางจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมนี้ว่า Narcissism หรือ บุคลิกภาพแบบหลงตนเองก็เป็นได้

โรคหลงตัวเอง Narcissistic Personality Disorder คือ อะไร

โรคหลงตัวเอง หรือ บุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder) คือ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เป็นภาวะสุขภาพจิตที่คนเราเห็นถึงความสำคัญของตัวเองสูงเกินไป ต้องการและเรียกร้องความสนใจ และต้องการให้ผู้คนชื่นชมมากจนเกินไป

คนที่มีพฤติกรรมนี้จะขาดความสามารถในการเข้าใจ หรือใส่ใจความรู้สึกของผู้อื่น แต่ภายใต้หน้ากากแห่งความมั่นใจสุดขีดนี้ พวกเขาไม่มั่นใจในคุณค่าของตนเอง และรู้สึกไม่พอใจกับคำวิพากษ์วิจารณ์แม้จะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองทำให้เกิดปัญหาในชีวิตหลายด้าน เช่น ความสัมพันธ์ การงาน การเรียน หรือเรื่องการเงิน โดยทั่วไปแล้วคนที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองมักจะไม่มีความสุข และผิดหวังเมื่อพวกเขาไม่ได้รับสิทธิพิเศษ หรือความชื่นชมที่พวกเขาเชื่อว่าสมควรได้รับ

ลักษณะบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองในทางจิตวิทยา

คนที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ที่เรียกว่า Narcissism ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 4 (DSM-IV) ระบุว่าบุคลิกภาพแบบหลงตนเอง มีลักษณะเด่น ดังนี้

“การเห็นว่าตนดีกว่าหรือเหนือกว่าผู้อื่น ต้องการเป็นที่สนใจ แสวงหาการได้รับการยกย่องชื่นชม และได้รับความสนใจในฐานะเป็นบุคคลสำคัญ

คาดหวังว่าตนจะเป็นที่รักของผู้อื่น และได้รับความสนใจในฐานะเป็นบุคคลสำคัญ หมกมุ่นอยู่กับความเพ้อฝันในความสำเร็จ อำนาจ ความรุ่งโรจน์ ความฉลาด ความสวยงาม รวมถึงประเมินความสามารถของตนสูงเกินความเป็นจริง ประกอบกับคิดถึงแต่ตนเองเป็นที่ตั้งและยึดตนเองเป็นศูนย์กลางเพื่อให้ตนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

รู้สึกว่าตนสมควรได้มากกว่าที่เป็นอยู่ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่นเพื่อตนเอง เพราะตนเองมีความหมกมุ่นในสิ่งที่ปรารถนา รวมทั้งขาดความเห็นอกเห็นใจ ไม่สนใจหรือรับรู้ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น แสดงพฤติกรรมและเจตคติในลักษณะที่หยิ่งยโส อวดดี ปกป้องตนเองจากคำวิจารณ์ของผู้อื่นและอิจฉาผู้อื่น ซึ่งลักษณะเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” – (คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

สาเหตุการเกิดบุคลิกหลงตัวเอง “โรคหลงตัวเอง” Narcissistic Personality Disorder

    • มีพ่อแม่ หรือคนที่เลี้ยงดูใกล้ชิดมีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง Narcissism
    • ถูกปล่อยปละละเลยตั้งแต่วัยเด็ก พ่อแม่ทอดทิ้ง ทำให้ขาดความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น (Empathy)
    • ในทางตรงข้าม บางคนอาจถูกเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ ปกป้องมากเกินไปในวัยเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกเป็นคนพิเศษสูงส่ง คิดว่าตนเป็นศูนย์กลางของทุกคน

    ลักษณะ พฤติกรรมโรคหลงตัวเอง – Narcissistic Personality Disorder

      • บุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ต้องการเป็นคนสำคัญตลอดเวลา อยากเป็นที่สนใจจากคนอื่น

      • สนใจคนที่เปลือกนอก คนที่สำคัญ มีชื่อเสียง มีฐานะ ทำตัวน่าคบกับคนบางคน

      • ต้องการได้รับการยกย่อง ชื่นชมแบบมากจนเกินไป

      • รู้สึกว่าตัวเองสมควรได้รับสิทธิพิเศษ และการดูแลเป็นพิเศษ

      • คาดหวังที่จะได้รับการยอมรับว่าเหนือกว่าคนอื่นแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม

      • หมกมุ่นอยู่กับจินตนาการเกี่ยวกับความสำเร็จ อำนาจ ความฉลาดหลักแหลม ความสวย ความงาม ชื่อเสียง หรือ การมีคู่ครองที่สมบูรณ์แบบ

      • เชื่อว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าคนอื่น และเลือกคบคนในระดับเดียวกันเท่านั้น

      • วิพากษ์วิจารณ์ และดูถูกคนที่ตัวเองรู้สึกว่าไม่สำคัญ

      • คาดหวังความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และคาดหวังให้ผู้อื่นทำสิ่งที่ตัวเองต้องการโดยห้ามตั้งคำถาม ห้ามวิพากษ์วิจารณ์

      • อ่อนไหวกับคำวิพากษ์วิจารณ์ รับ Feedback จากคนอื่นไม่ได้

      • ใช้ประโยชน์จากผู้อื่นเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ

      • เข้มงวด ไม่รู้จักยืดหยุ่น

      • ไม่เต็มใจที่จะรับรู้ความต้องการ และความรู้สึกของผู้อื่น

      • อิจฉาคนอื่นและเชื่อว่าคนอื่นอิจฉาตัวเอง

      • มีพฤติกรรมหยิ่งผยอง อวดดี

      • เติมเต็มความรู้สึกขาดด้วยวัตถุ สิ่งของราคาแพง เช่น รถสปอร์ตหรูหรา ของใช้แบรนด์เนม ฯลฯ

      ภายในที่แท้จริงของบุคลิกภาพ “หลงตัวเอง”

      คนที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง แม้จะคิดว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ แต่ลึก ๆ แล้ว เป็นคนที่เห็นคุณค่าตัวเองในระดับต่ำ เรียนรู้มาตั้งแต่เด็กว่าคนจะรักหรือจะมีเพื่อนได้ต้องมีเปลือก วัตถุ การพยายามเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นไปเพื่อรักษาภาพลวงตาที่ตนได้สร้างเอาไว้ แท้ที่จริงว่างเปล่า ไม่มีความสุข เศร้า สร้างเปลือกของความสุข พยายามเติมเต็มความรู้สึกขาดด้วยวัตถุ และการกด เหยียด ดูถูกคนอื่น

      โรคหลงตัวเอง หัวหน้าหลงตัวเอง

      พฤติกรรมโรคหลงตัวเองส่งผลกระทบต่อองค์กร อย่างไร

        • ที่ทำงานไม่เป็นพื้นที่ปลอดภัย

        • ขาดความเคารพ เชื่อใจกัน

        • ขาดพื้นที่แห่งการเรียนรู้

        • เกิดความขัดแย้ง

        • บรรยากาศการทำงานไม่ดี

        • ความเครียดของคนในทีม

         

        เครื่องมือในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง

        บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (Narcissistic) มักไม่เปลี่ยนแปลงตนเองได้ง่าย การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งและส่งเสริมการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

        • คุณค่าองค์กร (Values)
          การกำหนดและส่งเสริมคุณค่าที่สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง คุณค่าที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมช่วยปรับมุมมองและแนวทางการทำงานของพนักงานให้เป็นหนึ่งเดียว

        • การประเมินผลแบบ 360 องศา (360-degree Feedback)
          การประเมินผลโดยหัวหน้างานเพียงอย่างเดียวอาจไม่สะท้อนถึงศักยภาพและพฤติกรรมการทำงานในทุกมิติ การประเมินแบบ 360 องศา ซึ่งครอบคลุมความคิดเห็นจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา ช่วยให้ได้รับมุมมองที่รอบด้าน และนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

        วิธีการรับมือกับหัวหน้า หรือ คนที่มี พฤติกรรมโรคหลงตัวเอง

          • เล่นตามน้ำไป ให้ได้ก็ให้ ไม่ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงพวกเขา คนหลงตัวเองไม่เคยเปลี่ยนแปลง ถ้าเขาอยากได้รับคำชม ก็ชื่นชมเขาไป ไม่ต้องเสียเวลาไปให้ฟีดแบ็ก หรือ วิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ

          • หาจุดแข็งของตัวเราเอง สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง คนหลงตัวเองมักจะพยายามทำลายคุณและดูถูกคุณ ลองหาจุดแข็งของตัวเองที่เขาจะต้องพึ่งพา และขาดเราไม่ได้

          • มีจุดยืนในการสื่อสาร มีความสามารถในการแสดงจุดยืน ให้สื่อสารบอกความต้องการของเรา และกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน

          • มีความตระหนักรู้ ในความรู้สึกตัวเอง รู้ความต้องการ มีความชัดเจน รู้ว่าตัวเราชอบ ไม่ชอบอะไร ตัวตนเราเป็นอย่างไร

          • อย่าหลงกล ให้เขาด้อยค่า หากคุณถูกหัวหน้า หรือ เพื่อนร่วมงานด้อยค่า ดูถูก ถ้าหากตัวเราไม่ใช่แบบที่เขาพูด อย่าปล่อยให้เขาด้อยค่าคุณจนหลงเชื่อว่าตัวเองเป็นแบบนั้น ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพหลงตัวเอง มักใช้การด้อยค่าคนทำงานภายใต้การบริหารของตน ถ้าเราจดจำใส่ใจถ้อยคำ ท่าทางแบบนี้สะสมไว้นานวัน เราจะค่อย ๆ ด้อยค่าตัวเราเองมากขึ้นไป

          • รู้เท่าทัน เพิกเฉย ไม่ตอบสนอง เช่น คนที่หลงตัวเอง โอ้อวด อวดร่ำอวดรวย อวดหน้าที่การงานแบบมากเกินไป ให้ปล่อยเขาไป อยากพูดอยากอวดอะไรก็ไม่ต้องสนใจ มองเขาอย่างเข้าใจว่าเขาเป็นคนที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ เราไม่สามารถไปแก้ไขอะไรได้

        REF: Mayoclinic choosingtherapy

         

        หลักสูตรอบรมผู้นำ ทักษะผู้นำ
        MindSpring Group รับจัด หลักสูตร In-House
        หลักสูตร Public Program

        สนใจสมัคร ติดต่อ Line @MindSpring

        MindSpring Leadership Programs

        MindSpring Signature In-house Programs